กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร (เมืองฉะเชิงเทรา)
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  
   Main webboard   »   ข้อมูลวิชาการใหม่ๆ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   แนวทางการให้ยาเซรุ่มในผู้ป่วยถูกงูทับสมิงคลากัด  (Read: 1845 times - Reply: 0 comments)   
ADMIN

Posts: 87 topics
Joined: 29/3/2553

แนวทางการให้ยาเซรุ่มในผู้ป่วยถูกงูทับสมิงคลากัด
« Thread Started on 6/4/2554 3:58:00 IP : 110.77.178.15 »
 

 

นี่คือหน้าตาของงูทับสมิงคลา

งูทับสมิงคลาเป็นงูที่มีพิษต่อระบบประสาท (Neurotoxin) แนวทางการรักษางูเห่าหรืองูที่มีพิษต่อระบบประสาทตามศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา (http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001c.asp?info_id=104) ระบุดังนี้

พิษต่อระบบประสาท

1. การช่วยการหายใจเป็นหัวใจสำคัญของการรักษา ซึ่งมีความสำคัญยิ่งกว่าการให้เซรุ่มแก้พิษ ต้องเฝ้าสังเกตอกการกล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างใกล้ชิด เป็นเวลา 24 ชั่วโมง และเตรียมพร้อมสำหรับการใส่ท่อหลอดลมคอ และใช้เครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยที่เริ่มอกการกลืนลำบากต้องรีบใส่ท่อหลอดลมคอ เพื่อป้องกันการสำลักเข้าปอด ผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้อการหายใจอ่อนแรง (peak flow < 200 ลิตร / นาที, ความจุไวตัล < 1.5 ลิตร ,respiratory paradox, respiratory alternans, หยุดหายใจ) ต้องได้รับการช่วยหายใจโดยใช้เครื่องช่วยหายใจ ในกรณีไม่มีเครื่องช่วยหายใจ ให้ใช้ถุงแอมบู ช่วยแล้วรีบนำส่งสถานพยาบาลที่มีเครื่องช่วยหายใจ

2. ข้อบ่งชี้ในการให้เซรุ่ม คือ มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง เริ่มตั้งแต่มีหนังตาตก ไม่ต้องรอให้มีการหายใจล้มเหลวการให้เซรุ่มช่วยลดระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจ จากเวลาเฉลี่ยประมาณ 44 ชั่วโมง มาเป็นประมาณ 6 ชั่วโมง เนื่องจากเซรุ่มไม่สามารถไปแก้พิษงูที่อยู่ใน motor end-plate ได้ ดังนั้นวิธีที่ดี คือ การให้เซรุ่มขนาดสูงเป็น bolus dose เพื่อแก้พิษงูในกระแสเลือดทั้งหมด ส่วนพิษงูที่จับกับ motor end-plate แล้ว ให้ร่างกายกำจัดเอง โดยแพทย์ทำการช่วยหายใจในช่วงเวลานั้น ปริมาณเซรุ่มที่เหมาะสำหรับพิษจากงูเห่าคือ 100 มล. แต่สำหรับงูจงอางและงูสามเหลี่ยมยังไม่มีข้อมูลที่มากพอ ในปัจจุบันไม่มีเซรุ่ม สำหรับงูทับสมิงคลา ซึ่งเป็นงูพิษที่ดุร้าย มีอัตราตายของผู้ถูกกัดสูง และเป็นปัญหาที่คุกคามสุขภาพของประชาชนในภาคตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการทำลองในสัตว์พบว่าสามารถให้เซรุ่มของงูสามเหลี่ยมได้ แต่ยังไม่มีข้อมูลในคนสนับสนุน อย่างไรก็ตามการรักษาที่สำคัญ คือการช่วยหายใจ

3. ในกรณีงูเห่าและงูจงอาง ให้รีบตัดเนื้อตายจากบริเวณแผลที่ถูกกัดก่อนที่จะลุกลามเป็นบริเวณกว้าง และพิจารณาทำการถ่ายปลูกผิวหนัง ถ้าจำเป็น

สำหรับขนาดยาตามข้อมูลเอกสารกำกับเซรุ่มของสถานเสาวภาในกรณีเป็นเซรุ่มแก้พิษงูกลุ่มพิษต่อระบบประสาท คือ

- เซรุ่มแก้พิษงูจงอาง เซรุ่มแก้พิษงูสามเหลี่ยม และเซรุ่มแก้พิษทับสมิงคลา เริ่มด้วยให้ทางสารละลายเซรุ่มที่ละลายดีแล้วปริมาณ 50 ml (เท่ากับ 5 vials)
- เซรุ่มแก้พิษงูเห่า เริ่มให้ด้วยสารละลายเซรุ่มที่ละลายดีแล้ว ปริมาณ 100ml (10 vials) โดยให้ทางหลอดเลือดดำช้า ๆ (ประมาณ 2ml/min) (หรือ 30 drop/min) และอาจให้ซ้ำได้ทุก 12 ชั่วโมง โดยประเมินจากสภาวะผู้ป่วย

Ref :
-ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา
http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001c.asp?info_id=104
-เอกสารกำกับเซรุ่ม สถานเสาวภาแก้ไขครั้งล่าสุดเมื่อ วันที่ 06/07/53 เวลา 12.01 น.

 เอกสารเพิ่มเติม

http://www.snakru.research.chula.ac.th/acrobat/snake.pdf

http://www.snakru.research.chula.ac.th/acrobat/snake2.pdf

http://www.pharmyaring.com/qareply.php?id=331

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   ข้อมูลวิชาการใหม่ๆ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 490,817 Today: 50 PageView/Month: 2,495

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...