กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพุทธโสธร (เมืองฉะเชิงเทรา)
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  
   Main webboard   »   ข้อมูลวิชาการใหม่ๆ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   แนวทางการให้ยาทางสายให้อาหาร   (Read: 4034 times - Reply: 0 comments)   
ADMIN

Posts: 87 topics
Joined: 29/3/2553

แนวทางการให้ยาทางสายให้อาหาร
« Thread Started on 30/1/2554 18:06:00 IP : 125.24.164.61 »
 

แนวทางการให้ยาทางสายให้อาหาร

การให้ยาทางสายให้อาหารควรทำด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากอาจทำให้เกิดปัญหาได้ เช่น ยามีปฏิกิริยากับอาหารแล้วทำให้ยาหมดฤทธิ์ในการรักษา หรือยากับอาหารจับกันเป็นก้อนทำให้สายให้อาหารอุดตัน หรือยาถูกดูดซับไว้ที่สายให้อาหารทำให้ปริมาณยาที่ผู้ป่วยได้รับเข้าไปในร่างกายลดลงดังนั้นเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์จากการให้ยาผ่านทางสายให้อาหาร บุคลากรสาธารณสุขหรือผู้ดูแลผู้ป่วยควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้1.       ควรดูว่าสายให้อาหารนั้น มีปลายสายเปิดที่กระเพาะอาหาร หรือ ลำไส้ เพื่อเตรียมยาให้เหมาะสมและไม่ถูกทำลายเมื่ออยู่ในสภาวะกรดของกระเพาะอาหารหรือสภาวะด่างของลำไส้ ผู้ป่วยต้องอยู่ในท่านั่ง หรือหลังเอนทำมุม 30 องศากับที่นอน เพื่อลดการขย้อนของยา2.       กระบอกให้ยาที่นำมาใช้เพื่อการให้ยาทางสายให้อาหาร (oral syringe) ควรมีความจุ 50 ซีซี หากใช้กระบอกฉีดยามาเป็นกระบอกให้ยาทางสายให้อาหาร ควรติดฉลากระบุว่า ใช้ให้ยาทางสายให้อาหาร เพื่อป้องกันความสับสน3.       ก่อนที่จะบริหารยาให้ผู้ป่วย ผู้บริหารยาจะต้องล้างมือและสวมถุงมือ เพื่อป้องกันมิให้ยาถูกปนเปื้อนด้วยจุลินทรีย์ (การสวมถุงมือยังช่วยป้องกันผู้บริหารยามิให้ได้รับอันตรายจากการสัมผัสกับยา)  4.       ต้องหยุดให้อาหารทางสายก่อนให้ยา ในบางกรณีต้องหยุดให้อาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนให้ยา และต้องไม่ผสมยาลงในอาหาร เพราะมีโอกาสที่ยาจะทำปฏิกิริยากับอาหารได้ ทำให้สายอุดตัน ยาถูกดูดซึมน้อยลง หรือ การดูดซึมอาหารลดลง5.       ต้องล้างสายให้อาหารทั้งก่อนและหลังให้ยา ด้วยน้ำ 15-30 ซีซี เพื่อป้องกันปฎิกิริยาระหว่างยาและอาหาร6.       หากให้ยามากกว่า 1 ชนิด ห้ามผสมกันแล้วให้ทีเดียว เพราะยาอาจมีปฏิกิริยาต่อกัน วิธีที่ควรปฏิบัติคือแยกให้ยาทีละชนิด และล้างสายด้วยน้ำ 10 ซีซี คั่นระหว่างยาแต่ละชนิดเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา แต่หากผู้ป่วยต้องจำกัดน้ำ ให้พิจารณาการให้ยาด้วยวิถีอื่น เช่น ฉีดยา เหน็บยาทางทวารหนัก เป็นต้น เพื่อให้เหลือจำนวนยาน้อยลงที่จะให้ทางสายให้อาหาร 7.       เลือกให้ยาน้ำเป็นลำดับแรก การนำยาน้ำของเด็กมาให้ผู้ใหญ่ อาจต้องระวังในผู้ป่วยที่ต้องจำกัดน้ำเพราะอาจได้ปริมาณน้ำทั้งหมดเกินกว่าที่ผู้ป่วยจะรับได้ นอกจากนี้หากยาน้ำนั้นเป็นยาน้ำเชื่อม ก็จะมีความหนืดมาก อาจติดอยู่ในสายให้อาหาร ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาไม่เต็มที่8.       ยาเม็ดที่นำมาให้ทางสายให้อาหาร หากไม่มีข้อห้ามการบด ให้นำมาบดเป็นผง แล้วผสมน้ำ 10-15 ซีซี จากนั้นจึงดูดน้ำที่มียาผสมอยู่นั้นไปให้ทางสายให้อาหาร9.       ยาหลายชนิดมีการออกแบบเป็นพิเศษ ซึ่งห้ามหรือไม่ควรนำมาให้ทางสายให้อาหาร ได้แก่-          ยาเคลือบเอ็นเทอริก (enteric-coated dosage form) ยารูปแบบนี้ได้รับการออกแบบให้ฟิล์มที่เคลือบไว้ละลายออกเมื่ออยู่ในลำไส้ จัดเป็นยาออกฤทธิ์ช้า เมื่อนำยารูปแบบนี้มาบดแล้วให้ทางสายให้อาหาร จึงสูญเสียคุณสมบัติที่ออกแบบไว้ และมีโอกาสก่ออาการไม่พึงประสงค์ต่อผู้ป่วยได้เนื่องจากยาถูกปลดปล่อยออกมาที่กระเพาะอาหารแทนที่จะออกมาในลำไส้-          ยาออกฤทธิ์นาน (sustained-release dosage form) ยารูปแบบนี้ได้รับการออกแบบให้ออกฤทธิ์นาน และมียาในปริมาณสูง เมื่อนำยารูปแบบนี้มาบดแล้วให้ทางสายให้อาหาร จึงสูญเสียคุณสมบัติที่ออกแบบไว้ และมีโอกาสก่อความเป็นพิษต่อผู้ป่วยได้เนื่องจากยาปริมาณสูงออกฤทธิ์ทั้งหมดทันที -          ยาอมใต้ลิ้น (sublingual tablet) ยารูปแบบนี้ได้รับการออกแบบมาให้เกิดการดูดซึมยาในช่องปากเท่านั้น เนื่องจากยาจะถูกทำลายเมื่ออยู่ในกระเพาะอาหาร หรือ ถูกเปลี่ยนสภาพที่ตับภายหลังการดูดซึมจากทางเดินอาหาร จัดเป้นยาที่สูญสิ้นฤทธิ์เมื่อกลืน10. ปรึกษาเภสัชกรถึงวิธีบริหารยาแก่ผู้ป่วยที่มีสายให้อาหาร ซึ่งอาจจำเป็นต้องมีการปรับขนาดยา รูปแบบยา และวิธีบริหารยาซึ่งอาจต้องมีการปฏิบัติที่ระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่น ยาที่มีพิษต่อเซลล์ ยาที่กดภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้สามารถดูรายชื่อยาและ เหตุผลของการห้ามบดหรือทำให้แตก หรือห้ามให้ทางสายให้อาหาร ได้จากตารางที่ 1  รายชื่อยาที่ห้ามบดหรือทำให้แตก หรือห้ามให้ทางสายให้อาหาร (เรียงตามอักษรด้วยชื่อทางการค้าของบริษัทยาต้นแบบเท่านั้น)
ชื่อยา (ชื่อทางการค้า)ตัวยาสำคัญ  เหตุผลที่ห้ามบดหรือทำให้แตก หรือห้ามให้ทางสายให้อาหาร
ActonelRisedronate ผู้ป่วยต้องอยู่ในท่านั่งอย่างน้อย 30 นาทีหลังให้ยา เพื่อลดโอกาสของการเกิดแผลในหลอดอาหาร
Adalat retardNifedipine  ออกฤทธิ์นาน  
Adalat CRNifedipine  ออกฤทธิ์นาน  
Addi-KPotassium chloride  ออกฤทธิ์นาน  
AggrenoxDipyridamole + Acetylsalicylic acidออกฤทธิ์นาน  
AlkeranMelphalanมีพิษต่อเซลล์ เสี่ยงต่อผู้บริหารยา
AspentAspirin  เคลือบเอ็นเทอริก ออกฤทธิ์ช้า
Aspent-MAspirin  เคลือบเอ็นเทอริก ออกฤทธิ์ช้า 
AugmentinAmoxicillin/clavulanic acidเหนียวเมื่อบด เสื่อมสภาพเมื่อชื้น
BonvivaIbandronic acidผู้ป่วยต้องอยู่ในท่านั่งอย่างน้อย 30 นาทีหลังให้ยา เพื่อลดโอกาสของการเกิดแผลในหลอดอาหาร
BuprineBuprenorphineสูญสิ้นฤทธิ์เมื่อกลืน
Cardil CRDiltiazem  ออกฤทธิ์นาน
Cardepine Nicardipine  ออกฤทธิ์นาน
Calcigard retardNifedipine  ออกฤทธิ์นาน
Cardura XLDoxazosin  ออกฤทธิ์นาน
CellceptMycophenolate mofetilกดภูมิคุ้มกัน เสี่ยงต่อผู้บริหารยา
Clarinase 24 hourLoratadine   + Pseudoephedrine  ออกฤทธิ์นาน
Clarinase repetabLoratadine   + Pseudoephedrine  ออกฤทธิ์นาน
ClomidClomiphene เสี่ยงต่อผู้บริหารยาที่เป็นสตรีตั้งครรภ์ (pregnancy risk category X)
CombizymPancreatin + Enzyme concentrate from Aspergillus oryzaeเคลือบเอ็นเทอริก ออกฤทธิ์ช้า 
Combizym compositumPancreatin + Enzyme concentrate from Aspergillus oryzae + Ox bile extractเคลือบเอ็นเทอริก ออกฤทธิ์ช้า 
ConcertaMethylphenidateออกฤทธิ์นาน
ControlocPantoprazole  เคลือบเอ็นเทอริก ออกฤทธิ์ช้า 
Creon 10000Pancreatin (corresponding to lipase, amylase, protease)เคลือบเอ็นเทอริก ออกฤทธิ์ช้า 
Cytotec Misoprostol  เสี่ยงต่อผู้บริหารยาที่เป็นสตรีตั้งครรภ์ (pregnancy risk category X)
Danzen Serratiopeptidase  เคลือบเอ็นเทอริก ออกฤทธิ์ช้า 
Depakine Sodium valproate  เคลือบเอ็นเทอริก ออกฤทธิ์ช้า 
Depakine chronoSodium valproate  ออกฤทธิ์นาน
Detrusitol SRTolterodine ออกฤทธิ์นาน
Diamicron MRGliclazide  ออกฤทธิ์นาน
Dilantin KapsealPhenytoin  ออกฤทธิ์นาน 4
Distaclor MR Cefaclorออกฤทธิ์นาน
DulcolaxBisacodyl เคลือบเอ็นเทอริก ออกฤทธิ์ช้า 
EndoxanCyclophosphamide มีพิษต่อเซลล์  เสี่ยงต่อผู้บริหารยา
Efexor-XRVenlafaxineออกฤทธิ์นาน
FludaraFludarabine มีพิษต่อเซลล์  เสี่ยงต่อผู้บริหารยา
FosamaxAlendronateผู้ป่วยต้องอยู่ในท่านั่งอย่างน้อย 30 นาทีหลังให้ยา เพื่อลดโอกาสของการเกิดแผลในหลอดอาหาร
HarnalTamsulosinออกฤทธิ์นาน
Herbesser 90 SRDiltiazemออกฤทธิ์นาน
Herbesser R100Diltiazemออกฤทธิ์นาน
Herbesser R200Diltiazemออกฤทธิ์นาน
HydreaHydroxyurea มีพิษต่อเซลล์ เสี่ยงต่อผู้บริหารยา
ImdurIsosorbide-5-mononitrate ออกฤทธิ์นาน 3
ImuranAzathioprineกดภูมิคุ้มกัน เสี่ยงต่อผู้บริหารยา
Isoptin SRVerapamil ออกฤทธิ์นาน 3
Isordil sublingual Isosorbide dinitrate สูญสิ้นฤทธิ์เมื่อกลืน
Kapanol Morphineออกฤทธิ์นาน 4
Klacid MRClarithromycinออกฤทธิ์นาน
Ladogal Danazol เสี่ยงต่อผู้บริหารยาที่เป็นสตรีตั้งครรภ์ (pregnancy risk category X)
LanvisThioguanine มีพิษต่อเซลล์ เสี่ยงต่อผู้บริหารยา
LeukeranChlorambucil มีพิษต่อเซลล์ เสี่ยงต่อผู้บริหารยา
Losec MUPSOmeprazole ยาเม็ดแตกตัวเร็วให้แกรนูลเคลือบเอ็นเทอริก ออกฤทธิ์ช้า 2
Madopar HBSLevodopa + Benserazide ออกฤทธิ์นาน
MesacolMesalazineเคลือบเอ็นเทอริก ออกฤทธิ์ช้า  
Methotrexate-EBEWEMethotrexate มีพิษต่อเซลล์  เสี่ยงต่อผู้บริหารยา
Methotrexate-LederleMethotrexate มีพิษต่อเซลล์  เสี่ยงต่อผู้บริหารยา
Methotrexate-RemedicaMethotrexate มีพิษต่อเซลล์  เสี่ยงต่อผู้บริหารยา
Miracid Omeprazole แคปซูลบรรจุเพลเล็ตเคลือบเอ็นเทอริก ออกฤทธิ์ช้า 1
Monolin SR Isosorbide mononitrateออกฤทธิ์นาน 4
Mucosolvan PLAmbroxol ออกฤทธิ์นาน
MyforticMycophenolateเคลือบเอ็นเทอริก ออกฤทธิ์ช้า 
MyleranBusulphan มีพิษต่อเซลล์ เสี่ยงต่อผู้บริหารยา
Natrilix SRIndapamide ออกฤทธิ์นาน

Nexium MUPS

Esomeprazole ยาเม็ดแตกตัวเร็วให้แกรนูลเคลือบเอ็นเทอริก ออกฤทธิ์ช้า 2

Norflex

Orphenadrine ออกฤทธิ์นาน
Nuelin SRTheophylline ออกฤทธิ์นาน
ParietRabeprazoleยาเม็ดแตกตัวเร็วให้แกรนูลเคลือบเอ็นเทอริก ออกฤทธิ์ช้า 2
PentasaMesalazineออกฤทธิ์นาน
PlendilFelodipine ออกฤทธิ์นาน
Postinor 2Levonorgestrel เสี่ยงต่อผู้บริหารยาที่เป็นสตรีตั้งครรภ์ (pregnancy risk category X)
Prevacid FDTLansoprazole ยาเม็ดแตกตัวเร็วให้แกรนูลเคลือบเอ็นเทอริก ออกฤทธิ์ช้า 2
PropeciaFinasteride เสี่ยงต่อผู้บริหารยาที่เป็นสตรีตั้งครรภ์ (pregnancy risk category X)
ProscarFinasteride เสี่ยงต่อผู้บริหารยาที่เป็นสตรีตั้งครรภ์ (pregnancy risk category X)
Puri-netholMercaptopurine มีพิษต่อเซลล์ เสี่ยงต่อผู้บริหารยา
QuomemBupropion ออกฤทธิ์นาน
RenitecEnalapril เหนียวเมื่อบด เสื่อมสภาพเมื่อชื้น
RoaccutaneIsotretinoinเสี่ยงต่อผู้บริหารยาที่เป็นสตรีตั้งครรภ์ (pregnancy risk category X)
Salazopyrin ENSulfasalazine เคลือบเอ็นเทอริก ออกฤทธิ์ช้า 
SalofalkMesalazineเคลือบเอ็นเทอริก ออกฤทธิ์ช้า
StratteraAtomoxetine ระคายเคืองต่อดวงตา เสี่ยงต่อผู้บริหารยา
Supralip 160Fenofibrate ออกฤทธิ์นาน
Tegretol CRCarbamazepine ออกฤทธิ์นาน
TemodalTemozolomide มีพิษต่อเซลล์  เสี่ยงต่อผู้บริหารยา
TracleerBosentan เสี่ยงต่อผู้บริหารยาที่เป็นสตรีตั้งครรภ์ (pregnancy risk category X)
Tramal RetardTramadol ออกฤทธิ์นาน
Trental 400Pentoxifylline ออกฤทธิ์นาน
Trepal-400Pentoxifylline ออกฤทธิ์นาน
Trivastal retardPiribedil ออกฤทธิ์นาน
Tylenol 8 hourParacetamol 2-layer caplet
UFTTegafur + Uracilมีพิษต่อเซลล์  เสี่ยงต่อผู้บริหารยา
Vastarel MRTrimetazidine ออกฤทธิ์นาน
VepesidEtoposide มีพิษต่อเซลล์  เสี่ยงต่อผู้บริหารยา
Videx ECDidanosine เคลือบเอ็นเทอริก ออกฤทธิ์ช้า 
VoltarenDiclofenac เคลือบเอ็นเทอริก ออกฤทธิ์ช้า 
Voltaren SRDiclofenac ออกฤทธิ์นาน
Xatral XLAlfuzosinออกฤทธิ์นาน
XelodaCapecitabine มีพิษต่อเซลล์  เสี่ยงต่อผู้บริหารยา
Zeptol CRCarbamazepine ออกฤทธิ์นาน
1 แกะแคปซูลได้ นำยาที่เทออกจากแคปซูลผสมน้ำโดยไม่บดก่อน แล้วนำน้ำที่มียาผสมอยู่นั้นไปให้ทางสายให้อาหาร 2  ใส่เม็ดยาลงในกระบอกให้ยาที่ต่อกับสายให้อาหาร เติมน้ำ เขย่าเบาๆ จนเม็ดยาละลาย กลายเป็นเม็ดเล็กๆ กระจายตัวในน้ำ แล้วจึงดันยาลงไปตามสายให้อาหารทันที3 หักเม็ดได้ตามรอยบาก4 แกะแคปซูล เทผงยาที่อยู่ภายในลงในสายให้อาหาร แล้วล้างสายทันทีด้วยน้ำ และต้องปรับขนาดยาที่ให้ด้วย ที่มา: เวบไซต์สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล : http://www.thaihp.org/
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   ข้อมูลวิชาการใหม่ๆ
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 490,875 Today: 108 PageView/Month: 2,554

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...